หยก การเลือกหยกแท้ ปลอม

การเลือกหยก

วิธีการเลือกหยกให้ได้ของแท้

จี้โดนัทหยก

สีสด

สี หยกสีเขียว เช่น สีเขียวมรกต เขียวแอปเปิล เขียวแกมเหลือง เขียวแกมเทา ควรมีความเข้มของสีปานกลางหรือกึ่งเข้ม สีสม่ำเสมอกันทั่วทั้งเม็ด ไม่มีจุดแต้มหรือรอยด่างของสี บริเวณที่มีสีเขียวเข้มดำมักจะแกะสลักหรือเจียระไนให้บางมากที่สุดเพื่อให้โปร่งใสขึ้น สวยงามมากขึ้น และเพิ่มราคาให้สูงขึ้น เทคนิคนี้อาจจะยากต่อการตรวจสอบ

สร้อยข้อมือหยก

โปร่งใส

ความโปร่งใส เนื้อหยกควรมีลักษณะโปร่งแสง กึ่งโปร่งใส และโปร่งใส ความละเอียดหรือความหยาบของผลึกแร่ที่เกาะประสานกันในเนื้อ หยกที่มีเนื้อเป็นผลึกแร่เล็กละเอียดประสานกันแน่น มักมีความโปร่งใสมาก ส่วนหยกที่เนื้อหยาบจะไม่ค่อยโปร่งใส ดังนั้นควรเลือกซื้อหยกที่ความโปร่งใสในกรณีที่มีสีเดียวกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบหยกที่สีสดสวยแต่ไม่ค่อยโปร่งใสกับหยกที่มีความโปร่งสูง แต่มีสีไม่ค่อยสวย ควรจะเลือกซื้อหยกที่มีสีสวยกว่า

ความแวววาวของหยก

แวววาว

ความวาว เหมือนขี้ผึ้งหรือน้ำมัน มองดูนุ่มนวลเหมือนปุยนุ่น ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของหยกเนื้อละเอียดที่มีความโปร่งใสบ้าง แต่หากมีความวาวเหมือนแก้ว จะถือเป็นหยกคุณภาพดี เนื้อละเอียด มีความโปร่งใสสูง ซึ่งค่อนข้างหาได้ยากในธรรมชาติ

สะอาด

ความสะอาด พิจารณาจากตำหนิ เช่น ลักษณะรอยแตกร้าว รอยปะ รอยขีดข่วนต่างๆ ลักษณะจุดสี หย่อมสีหรือรอยด่างของสี (ขาวหรือดำ) เป็นต้น ถ้าหยกมีตำหนิมาก จะทำให้ความสวยงามลดลงเช่นกัน จึงควรเลือกซื้อหยกที่มีตำหนิดังกล่าวน้อยที่สุดหรือมีขนาดเล็กที่สุดนั่นเอง

เนื้องาน

การเจียระไน ขัดมัน และการแกะสลัก ดูความคงทนถาวร ความกลมกลืน ความสมบูรณ์ของรูปแบบ สัดส่วน ความสมดุล ซึ่งอาจขึ้นกับความชอบของแต่ละบุคคล แต่ละยุคสมัยด้วย เช่น กำไลหยก ควรมีความหนาอย่างน้อยประมาณขนาดมวนบุหรี่โดยทั่วไป ซึ่งจะทนและแตกได้ยาก

A Jade
B+C Jade
B Jade
C Jade

เกรด

หยกปรับปรุงคุณภาพ ในปัจจุบันจะมีการย้อมสี อัดเคลือบสารโพลีเมอร์ หรือ ทั้งย้อมสีและเคลือบสารโพลีเมอร์ เป็นต้น การย้อมสี ส่วนใหญ่มักย้อมเป็นสีเขียวหรือม่วงหรือสีอื่นๆ เช่น สีน้ำตาล สีเหลือง การย้อมสีหยกมีเทคนิคต่างๆที่ทันสมัย ซึ่งอาจให้สีที่คงทนถาวรหรือไม่ก็ได้ หยกที่ผ่านการย้อมสีจะเรียกว่า C-jade บางครั้งอาจตรวงสอบด้วยตาได้ยาก ส่วนการอัดเคลือบสารโพลีเมอร์หลังจากการแช่ในกรดเพื่อทำให้เนื้อสะอาดขึ้นและมีผิวมันวาวสวยงามจะเรียกว่า B-jade หยกแบบนี้ต้องให้เซียนหยกตรวจเท่านั้น และหยกชนิดที่มีทั้งการย้อมสีและการอัดเคลือบสารโพลีเมอร์หลังการแช่กรดเพื่อทำให้สีเข้มสวย โดยเฉพาะสีเขียว มีความคงทน มีประกายวาวสวยงามในตลาดหยกจะเรียกว่า B+C jade การตรวจสอบด้วยวิธีธรรมดาจะยากเช่นกัน ส่วนหยกธรรมชาติที่ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพใดๆ จะเรียกว่า A- jade นอกจากนี้ยังมีการเคลือบด้วยไข ขี้ผึ้ง หรือ น้ำมันบางอย่าง เพื่อให้ดูแวววาวเกินจริง ทำให้สวยงามน่าซื้อ

Chalcedony
Indian jade
Aventurine quartz
Australian jade
Korean jade
Meta jade (Imori glass)

หินคล้ายหยก

หยกเทียม เป็นพลอยหรือหินชนิดอื่นๆ วัตถุอื่นที่คล้ายกับหยก มาทำเรียกชื่อหรือหลอกขายเป็นหยก ที่พบบ่อยมากจะเป็นแร่ควอตซ์ชนิดเนื้อละเอียด (Chalcedony) ย้อมสีเขียว,สีม่วง,พลอยอื่นๆ ที่เรียกชื่อเป็นหยก เช่น หยกอินเดีย (Indian jade) แท้จริงคืออะเวนจูรีนควอตซ์ (Aventurine quartz) หยกออสเตรเลีย (Australian jade) ซึ่งเป็นควอตซ์เนื้อละเอียดชนิดคริโซเพรส หรือ หยกเกาหลี (Korean jade) ซึ่งก็คือเซอร์เพนทีน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีแก้ว พลาสติก ทำสี ย้อมสีแล้วอัดด้วยความดันสูง ให้เหมือนหยก เช่น Meta jade ทำจากแก้ว Imori glass การตรวจสอบหยกเทียมต่างๆที่กล่าวมานี้ อาจต้องใช้ความรู้ทางอัญมณีศาสตร์ช่วย หรือต้องเข้าแลปตรวจพิสูจน์กันอย่างจริงจัง